พื้นที่จังหวัดหาดใหญ่
มุมมองจากทะเลสาบสงขลา
มุมมองจากทะเลสาบสงขลาเข้าไปในตัวเมืองหาดใหญ่ หาดใหญ่เป็นที่ลุ่มล้อมรอบด้วย ภูเขา ที่มีแนวลาดเอียงของพื้นที่มาทางหาดใหญ่พอดี เลยรับน้ำที่ไหลลงมาจากทุกทิศทาง
มุมมองจากเนินเขาลูกนึงที่อยู่ทางตะวันตกของตัวเมืองหาดใหญ่
จากเนินเขาลูกนึงที่อยู่ทางตะวันตกของตัวเมืองหาดใหญ่ สังเกต pattern ของพื้นที่ให้ดี แม้ว่าเขาทั้งลูกจะเป็นสีเขียวแต่ดูแล้วมันไม่ใช่ป่าปรกติ แต่เป็นลักษณะของพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งพื้นที่ลักษณะนี้เมื่อฝนตกลงมาจะไม่ช่วยเก็บน้ำไว้ เพราะถึงแม้จะมีเรือนยอดปกคลุม แต่พื้นล่างเปิดโล่ง น้ำจึงไหลผ่านหน้าดิน (run off) ลงสู่ที่ต่ำได้อย่างรวดเร็ว
กราฟแสดงปริมาณน้ำฝนในประเทศไทย
ปีนี้ประเทศไทยและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เกิด ENSO โหมดของ La Nina ซึ่งจะมีอิทธิพลทำให้ปริมาณฝนในแถบบริเวณดังกล่าวมีปริมาณฝนมากกว่าปกติ ส่วนทางฝั่งอเมริกาใต้แถบประเทศเปรู ปริมาณฝนจะน้อยกว่าปกติ
ซึ่ง La Nina เกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลใน
มหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก ทำให้อุณหภูมิด้านตะวันตกสูงกว่าด้านตะวันออก ลมจึงพัดจากบริเวณที่เย็นกว่าซึ่งมีความกดอากาศสูงไปสู่บริเวณที่ร้อนกว่าซึ่งมีความกดอากาศต่ำ เกิดเป็นลมพัดจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นการพัดเสริมกับลมสินค้าที่พัดอยู่เดิม ส่งผลให้ในแถบบริเวณด้านทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกแถบ ออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งประเทศไทย มีความชุ่มชื้นมากกว่าปกติ(ปริมาณฝนมากขึ้น) ผนวกกับวัฏจักรธรรมชาติของโลกที่เรียกว่า Pacific Decadal Oscillation (PDO) อยู่ในโหมดเป็นค่าลบ (ค่าบวกฝนน้อย ค่าลบฝนเยอะ) สอดคล้องกับ ENSO (La Nina = โหมดลบของ ENSO) โดย PDO เป็นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิส่วนที่เป็น Background ของมหาสมุทรแปซิฟิกและปรากฏเป็นระยะยาวนานประมาณ 25-30 ปี จึงจะเกิดการสลับข้างระหว่างซีกตะวันออกกับตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก
แต่สำหรับ ENSO นั้นเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับกระแสน้ำแถบศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิก และมีช่วงการเกิดปรากฏการณ์สั้นกว่า PDO จึงอาจเป็นไปได้ว่า การที่ปริมาณฝนของไทยเพิ่มขึ้นอาจไม่ได้เกิดจากปรากฏการณ์ La Nina เพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงวัฏจักรของ PDO ร่วมด้วย
จากกราฟ PDO จะเห็นได้ว่าช่วงประมาณปี 2010 ตกอยู่ในโหมดเป็นลบแสดงว่าฝนตกเยอะกว่าทุกปี
ประมวลภาพน้ำท่วม
นาย กฤษฎา บุญวัฒน์ 5209023 CEN370